วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สร้างเลเซอร์สแกนเนอร์สำหรับการรังวัด จากเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม

เลเซอร์สำหรับการรังวัดเพื่อการรังวัดทำแผนที่ สร้างแบบจำลองอาคาร สร้างแบบจลองโรงงานสามมิติ จะเป็นชนิดตั้งพื้นที่เรียกว่า Terrestrial Laser Scanner (TLS) ระยะรังวัดไปได้ไกลสัก 25-600 เมตร ความถี่สัก 50,000-400,000 เฮิร์ต
สำหรับระบบที่ติดรถได้ที่เรียกว่า Vehicular Laser Scanner (VLS) ก็จะมีคุณสมบัติเพิ่มคือกันน้ำ กันสะเทือน
ในอีกแนวคิด low-cost คือสร้างเลเซอร์สแกนเนอร์สำหรับการรังวัด จากเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม นักวิจัยสร้างหุ่นยนตร์ หรือ รถยนตร์ไร้ค้นบังคับ นิยมใช้ไลดาร์ราคาถูก ระยะสั้น 10-80 เมตร ความถี่ <10,000 เฮิร์ต ระบบพวกนี้ได้ Hokuyo UTM-30LX, Sick LMS-291 และล่าสุด Sick มีโปรดักส์ใหม่ LMS 100 Series ที่เล็กน้ำหนักเบา 1.1 กิโล ระยะ 10-50 เมตร ราคา 3059 ปอนด์ ได้มั้ง หรือ 1/10 เครื่องระบบใหญ่เป็นอย่างน้อย

ดังนั้นจึงมีนักวิจัยสนใจที่จะนำมาประกอบกัน1, 2 หรือ 3 เครื่อง หรืออาจจะมากว่า แล้วทำการ calibrate หา intrinsic parameter ซะแล้วให้หมุนได้ 1-2 เฮิร์ต การนำเครื่องมือมาตั้งบนแทนให้หมุนได้ต้องการอุปกรณ์มาตราฐานทางไฟฟ้าเครื่องกลชิ้นหนึ่งที่เรียกว่า "slip-ring" เพื่อให้สายไฟและสัญญาณ ผ่านจากแท่นตั้งพื่้นหรือติดรถไปสู่แกนหมุนทีติดกับเลเซอร์ได้
ลองดูผลงานของ Fraunhofer Institute จากประเทศเยอรมัน ชนิด 2 เครื่อง http://www.3d-scanner.net/

ระบบที่ 1 ประกอบขึ้นจาก Hokuyo UTM-30LX เพียงตัวเดียว



ระบบที่ 2 ประกอบด้วย Sick LMS_291 จำนวน 2 ตัว ภาพจาก www.3d-scanner.net


และล่าสุด ระบบที่ 3 ประกอบด้วย Sick LMS-151 จำนวน 3 ตัว ทำให้ด้วยความถี่ 80,000 เฮิร์ต ใกล้ 100 kHZ!
เข้าใจว่าเป็นความร่วมมือ Informatik Institut , University of Friburg, Germany กับ Robot Group ของ Oxford Univerisyt, UK
http://europa.informatik.uni-freiburg.de/files/SheehanHarrisonNewman_ISER2010.pdf

ไม่มีความคิดเห็น: