วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Geohash สำหรับพื้นที่ประเทศไทย

____การเข้าระหัสพิกัด(ภูมิศาสตร์)ให้เป็นอักขระกระทัดรัดชุดหนึี่งมีหลายโซลูชั่นที่เป็นมาตรฐานให้เลือกใช้ เช่น MGRS, USNG, NAC เป็นต้อน ผู้เขียนเองก็เคยคิด Thai GeoCoding (TG) คุณมนตร์ศักดิ์ จากเนคเทคก็เสนอ UREA
ณ วันนี Geohash เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ดูจะเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมาก Geohash เมื่อใช้ในประเทศไทยจะตกอยู่พื้นที่รหัส "W" ดังภาพ
ดังนั้นหากต้องการใช้รหัส Geohash ในประเทศไทยให้มีความละเอียดในการระบุตำแหน่ง +/- 2 เมตร จะต้องใช้ geohash 9 หลัก

geohash length lat bits lng bits lat error lng error km error
0 0 0 +/- 90 +/- 180 +/- 20000
1 2 3 +/- 23 +/- 23 +/- 2500
2 5 5 +/- 2.8 +/- 5.6 +/- 630
3 7 8 +/- 0.70 +/- 0.7 +/- 78
4 10 10 +/- 0.087 +/- 0.18 +/- 20
5 12 13 +/- 0.022 +/- 0.022 +/- 2.4
6 15 15 +/- 0.0027 +/- 0.0055 +/- 0.61
7 17 18 +/- 0.00068 +/- 0.00068 +/- 0.076
8 20 20 +/- 0.000085 +/- 0.00017 +/- 0.019
9 22 23 +/-0.000021 +/-0.00021 +/-0.002 ==> เพิ่มเติมจาก wiki
อ้างอิง: http://en.wikipedia.org/wiki/Geohash

โชคดีว่าทุกรหัสที่ใช้ขึ้นต้นด้วย W ก็หมายความว่าเราอาจจะละ W ไว้ไม่เก็บบันทึในฐานข้อมูล อันนี้จะประหยํดได้ 1 หลัก
ดังนั้น การใช้ Geohash ในประเทศไทยเมื่อต้องการความละเอียด +/- 2 เมตร ถ้าใช้รหัส geohash จะใช้อักขระ 9 หลัก หากต้องการประหยัดตัวอักษรที่ใช้แทนระหัส ก็จะเหลือเพียง 8 หลัก!
รหัส Geohash นี้มีประโยชน์กว้างมาก เช่น ใช้เป็นตัวแทน อาคารสิ่งปลูกสร้าง รูปแปลงที่ ทรัพย์สินสาธาณูปโภค ต่างๆในฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดี

1 ความคิดเห็น:

Geo_Man U กล่าวว่า...

ถ้า Geohash ในขั้นตอนการทำระวางแผนที่ก็น่าจะมีปัญหาใช่เปล่าผม เพราะการทำระวางแผนที่จะบอกค่าพิกัดให้อ่านได้งานแต่การใช้ Geohash ก็จะส่งผลต่อการทำและการอ่านชัดเจนใช่เปล่าครับ