วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การรังวัดบนภาพถ่ายเฉียง (oblique photogrammetry)

____แม้ว่าเทคโนโลยีการรังวัดบนภาพถ่ายเฉียง (oblique photogrammetry) ยังไม่มีในบ้านเรา แต่โชคดี Blom ของยุโรปเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสกับชุดข้อมูลตัวอย่างชนิด on-line เรียกชื่อว่าBlom URBEXผู้ใช้สามารถเลือกดู แผนที่ภาพออโธ (O) ภาพถ่ายทางอากาศเฉียงในทิศทาง เหนือ (N) ตะวันออก (E) ตะวันตก (W) และใต้ (S) พร้อมทั้งเครื่องมือ วัดความยาว (Length) ความสูงอาคาร (Height) ทิศทางของฟีเจอร์(Bearing) และค่าระดับบนพื้นดิน (Elevation) กรณีต้องการเริ่มต้นใหม่หรือเปลี่ยนโหมดการทำงานให้กดปุ่ม 'Clear'

ข้อควรระวังและต้องเข้าใจหลักการวัดบนภาพถ่ายเฉียง คือภาพถ่ายเฉียงนี้มีการคำนวนตำแหน่งและการวางตัวภายนอก (exterior orientation) ที่ปรากฏในรูปพาราิมิเตอร์ (X0,Y0,Z0,ω,φ,κ) ของแต่ละภาพแล้ว ยังมีข้อมูลแบบจำลองระดับ (DEM) ซ้อนอยู่เบื้องหลัง ดังนั้นการรังวัดบนภาพถ่ายเดียวทุกอย่างใช้หลักการ 'forward intersection' การรังวัดต่างๆ เช่น การวัดพื้นที่บนหลังคาอาคาร การวัดขนาดพื้นที่บนขอบหน้าต่าง ที่มีจุดที่ตำ่ที่สุดไม่สัมผัสพื้นดินที่มีแบบจำลองระดับเป็นตัวแทน ในกรณีนี้จะทำให้ได้ค่าพิกัดและพื้นที่ผิดเพี้ยนเพิ่มเติมขึ้นไปอีกเนื่องจาก การประมาณค่าระดับของฟีเจอร์ที่วัดไม่อยู่บนแบบจำลองระดับ (DEM)

ไม่มีความคิดเห็น: