เวปไซต์สำหรับเผยแพร่ ผลงานวิจัยด้านภูมิสารสนเทศ โดยกลุ่มนักวิจัย ดร.ไพศาล สันติธรรมนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น Research and Development in geo-spatial science and technology for Thailand
วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ระบบสารสนเทศภาพถ่ายเฉียง
ระบบสารสนเทศภาพถ่ายเฉียง (oblique photogrammetry) เป็น แนวความคิดเก่า เอามาปัดฝุ่นใหม่ ทำให้เราสามารถผลิตแผนที่ภาพกึ่งสามมิติได้อย่างรวดเร็วเช่น Bing Map 3d (microsoft virtual earth - bird eye view) หรือ จะผลิตรูปอาคารสามมิติ (city model) อย่างใน Google Earth ก็ได้
หากมีภาพถ่ายเฉียงและประมวลผลแล้วนำเข้าสู่ระบบ เราสามารถจะใช้ประโยชน์ในการรังวัด ทันทีที่ ต้องการ
กล้อง Track' air MIDAS รุ่นนี้ ดูเหมือนว่าจะนิยมใช้กัน
ส่วนระบบการผลิตและซอฟต์แวร์ น่าจะมีอยู่ 2 เจ้าหลักๆ คือ US Pictometry และ Ofek Multivision ของ Israel
วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552
iPhone 3GS หรือ Android ดี
วันก่อนแอปเปิ้ลเปิดตัว iPhone 3Gs น่าสนใจมากสำหรับพวกเราน่าจะเป็น ฟังก์ชัน compass ที่น่าจะเป็นแม่เหล็กจริง เพราะเห็นเตือนว่า ระวังอย่าใช้งานใกล้โลหะ ซึ่งการหาทิศทางนี้เดิมทำได้แต่ทิศทางคำนวณจากค่าพิกัดจีพีเอสที่รับได้ในช่วงเวลาที่ต่างกัน ทิศทางที่คำนวนได้อาจไม่ค่อยแม่ยำเนื่องจากค่าพิกัดจีพีเอสแม่นยำสัก 10 เมตร ยิ่งเครื่องรับอยู่นิ่้งๆ ปัญหาการคำนวนทิศทางยิ่งไปกันใหญ่
ฟังก์ชันเข็มทิศพลอยทำให้ google maps หมุนตามไปด้วย รวมทั้ง streetview ด้วย อย่างนี้ google maps ก็กินตลาด เืนวิเกเตอร์ ลึกเข้าไปอีก โปรแกรมประยุกต์ใหม่ที่ต้องทำงานตำแหน่งทิศทางในสนามเช่น layar ที่ช่วยหาตำแหน่งที่อยู่อาคาร ก็จะได้ประโยชน์ไปด้วย
ขณะเดียวกัน Android ในบ้านเราก็เปิดตัว เรื่อง locations และ google maps ก็เป็นเรื่องใหญ่ด้วย แล้วเราจะเลือกใช้อะไรดีหว่า
วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552
Open Source Software for Geoinformatics 2009
ขอเชิญชวนทุกท่านไปดูงานและร่วมประชุม การประชุมวิชาการ ซอฟต์แวร์เสรีและรหัสเปิดสำหรับภูมิสารสนเทศ (FOSS4G) จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 ถึง 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 นี้ ณ กรุงซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
รายละเอียดที่นีครับ
รายละเอียดที่นีครับ
วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ข้อสังเกต Photogrammetric Week 2009
ในโลกของ งานรังวัดสำรวจด้วยภาพ ทุกๆปีจะมีงานที่จัดเป็นประเพณีโดยมหาวิทยาลัยสตุตการ์ท ในประเทศเยอรมันนี ที่ีเรียกว่า Photogrammetric Week (ภาษาเยอรมัน Photogrammetrische Woche) เพื่อให้นักวิชาชีพ นักวิชาการด้านนี้มานำเสนอผลงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และโดยเฉพาะจะเป็นเวทีสำคัญของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ด้านนี้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ดังนั้นจึงจัดได้ว่าเป็นการประชุมค่อนไปทางวิชาชีพ (professional conference) มากกว่าเชิงวิชาการ (academic conference)
เช่นเดิมในปีนี้งาน Photogrammetric Week 2009 (PhoWo 2009) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-11 กันยายน 2552 รายละเอียดปรากฏที่นี้ Welcome at the 52nd Photogrammetric Week Sept. 7 - 11, 2009 สำหรับจดหมายเชิญดูได้ทีนี่
สำหรับแนวหัวข้อหลัก (Theme) อาจเป็น Towards Photogrammetry 2.0 หัวข้อการประชุมเป็นการเชิญขึ้นเวที่ทั้งหมด ทั้งส่วนที่ค่อนทาง adcademic จะเป็นช่วงเช้า ส่วนช่วงบ่ายจะเป็น professional ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัท แนะนำผลิตภัณฑ์และบริการ รายละเอียดหาอ่านได้จากเวปไซท์
ปีนี้ PhoWo 2009 สำหรับผมน่าสนใจมากด้วยเหตุผลสองประการคือ 1) PhoWo 2009 เป็นการจัดงานครบรอบ 100 ปี คงจะมีผู้มีเกียรติในวงการมาร่วมกันอย่างเนื่องแน่น ซึีงดูได้จากอย่างน้อยชื่อผู้บรรยาย 2) ในช่วง Panel Discussion ของ Thursday, September 10, 2009 มีชื่อ panel lists: Dieter Fritsch (Panel Chair), Franz Leberl, Ben Kacyra, Hans Hess, Ed Parsons, Christian Heipke, Jack Ickes ที่น่าสังเกตคือ Ed Parsons จาก Google Inc. ซึ่งเป็น Geospatial Technologist of Google ที่มาจากวงการ IT โดยตรง
ตรงนี้ผมว่าน่าสนใจที่สุดที่เป็นสัญญลักษณ์อีกครัี้้ง ที่ยืนยัน Towards Photogrammetry 2.0 ครับ สำหรับผมหากจะทำงาน Photogrammetry ให้ครบวงจร ต้องหาเวลาว่างเรียนรู้ IT อีกสัก 50% จึงจะพอครับ ในยุคนี้
วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552
สแกนเนอร์สามมิติราคาถูกมาก
ซอฟแวร์ระดับราคา 200 ยูโร จากเยอรมัน ชื่อ David 3d
สามารถสร้างกลุ่มจุดสามมิติ (cloud point)
แล้วสร้างพื้นผิวให้เป็นแบบจำลองสามมิติได้ด้วย
ผู้ใช้อาจต้องไปหาเลเซอร์ชนิดเป็นเส้น ที่เราเห็นขายเป็นเลเซอร์พ้อยเต้อร์
สำหรับนำเสนอไม่เหมาะนะครับ ต้องใช้เลเซอร์ชนิดกวาดเป็นเส้นได้
เห็นน่าจะมีที่ฟอร์จูนอยู่ หรือเลเซอร์ระดับ (laser-level) ในบ้านเรา
ก็พอจะหาซื้อได้แล้วครับ อ้ออีกอย่างระบบใช้เวปแคมในการบันทึกครับ
ดูทฤษฎีเบื้องหลังได้ที่บทความ Low-Cost Laser Range Scanner and
Fast Surface Registration Approach (Winkelbach et.al. 2006)
ซอฟต์แวร์บางโมดูลมีให้ใช้ฟรีไ ด้ระดับหนึ่ง
อาจขาดโมดูลผนวกรวมแบบจำลองสามมิติหากว่าสแกนวัตถุหลายครั้่งจากหลายมุม
ที่เรียกว่า model stiching หรือ model alignment
กรณีนี้เราสามารถใช้ ชุดซอฟต์แวร์FOSS meshlab http://meshlab.sourceforge.net/
เพื่อการนี้ก็ได้
ดูคลิปวิธีการทำงานได้
เห็นบางท่านอ้างว่า NextEngine
ขายดีที่สุดแต่ราคาชุดเต็มก็ 3,000 เหรียญ แต่ว่ามีเลเซอร์มาพร้อม แท่นหมุนสำหรับ
วางวัตถุี่ที่จะสแกนด้วยครับ คงเหมาะกับมืออาชีพต้องสแกนทุกวัน
ต่อไปจะสแกนวัตถุสามมิติเพื่อโปรโมทสินค้า หรือ ทำวิศวกรรมย้อนรอย (reverse engineering)
ก็ไม่ยากแล้วครับ
สามารถสร้างกลุ่มจุดสามมิติ (cloud point)
แล้วสร้างพื้นผิวให้เป็นแบบจำลองสามมิติได้ด้วย
ผู้ใช้อาจต้องไปหาเลเซอร์ชนิดเป็นเส้น ที่เราเห็นขายเป็นเลเซอร์พ้อยเต้อร์
สำหรับนำเสนอไม่เหมาะนะครับ ต้องใช้เลเซอร์ชนิดกวาดเป็นเส้นได้
เห็นน่าจะมีที่ฟอร์จูนอยู่ หรือเลเซอร์ระดับ (laser-level) ในบ้านเรา
ก็พอจะหาซื้อได้แล้วครับ อ้ออีกอย่างระบบใช้เวปแคมในการบันทึกครับ
ดูทฤษฎีเบื้องหลังได้ที่บทความ Low-Cost Laser Range Scanner and
Fast Surface Registration Approach (Winkelbach et.al. 2006)
ซอฟต์แวร์บางโมดูลมีให้ใช้ฟรีไ ด้ระดับหนึ่ง
อาจขาดโมดูลผนวกรวมแบบจำลองสามมิติหากว่าสแกนวัตถุหลายครั้่งจากหลายมุม
ที่เรียกว่า model stiching หรือ model alignment
กรณีนี้เราสามารถใช้ ชุดซอฟต์แวร์FOSS meshlab http://meshlab.sourceforge.net/
เพื่อการนี้ก็ได้
ดูคลิปวิธีการทำงานได้
เห็นบางท่านอ้างว่า NextEngine
ขายดีที่สุดแต่ราคาชุดเต็มก็ 3,000 เหรียญ แต่ว่ามีเลเซอร์มาพร้อม แท่นหมุนสำหรับ
วางวัตถุี่ที่จะสแกนด้วยครับ คงเหมาะกับมืออาชีพต้องสแกนทุกวัน
ต่อไปจะสแกนวัตถุสามมิติเพื่อโปรโมทสินค้า หรือ ทำวิศวกรรมย้อนรอย (reverse engineering)
ก็ไม่ยากแล้วครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)