ความต้องการแผนที่และข้อมูลภูมิสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันและทันสมัยยังคงเป็นที่ต้องการสำหรับการประยุกต์ใช้ในทุกๆด้านตลอด เวลาเสมอ ) ปัจจุบันวิธีหนึ่งที่จะเป็นคำตอบได้คือ เทคโนโลยีระบบทำแผนที่เคลื่อนที่ได้ (Mobile Mapping Technology)
ระบบทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้ครอบคลุมการใช้เทคโนโลยี เครื่องมือสำรวจรังวัดที่สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยบุคคล (personal) การติดตั้งบนยานพาหนะบนพื้นดิน (land) บนเรือแล่นบนผิวน้ำ (marine) ไปจนถึงในอากาศยาน (airborne vehicle) พาหนะเหล่านี้โดยพื้นฐานจะต้องติดตั้งระบบนำหนความละเอียดถูกต้องสูง (precise navigation) เพื่อให้ทราบตำแหน่งของรถพร้อมการวางตัว (positioning and orientation) ตลอดเวลาการบันทึกข้อมูล ณ ขณะเวลาใดที่เรียกว่าวิถีของพาหนะ(trajectory) ความสัมพันธ์ของตัวรถ (body frame) และระยะไปยังเซนเซอร์ต่างๆ (lever arm) ที่ติดตั้งอยู่ร่วมกันบนยานพาหนะ ความสัมพันธ์นี้ทำให้ทราบตำแหน่งและการวางตัวเซนเซอร์ ของเซนเซอร์ (sensor orientation) ที่ใช้สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปยังค่าพิกัดวัตถุทั้งสามมิติ (3D object coordinate) ที่ปรากฏในกายภาพที่ต้องรังวัด ปรากฏการณ์ทางกายภาพที่ต้องการรังวัดและยังช่วยประเมินให้ทราบถึงชนิด (object identification) และคุณลักษณะ (attribute) ของสิ่งเหล่านั้น ดังนั้นระบบทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้จึงเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและความรู้ความเข้าใจทางด้าน Global Navigation Satellite System (GNSS), Inertial Navigation System (INS), computer vision and close-range photogrammetry, frame and spherical video CCD imaging system และ laser scanner / Lidar
ขณะนี้งานวิจัยมีความคืบหน้าไปมาก มีนิสิต ป.เอก ทำงานโดยตรงถึง 2 คน คือ อาจารย์ภาณุ อุทัยศรี และนายชัยภัทร เนื่องคำมา นิสิต ป.โท 2 ท่าน นายอรุณ บุรีรักษ์ และ นายธนรัตน์ มิตรยอดวงศ์ และนิสิต ป.ตรี นายกฤษฏิ์ นานาประเสริฐ อีกทั้งได้รับความอนุเคราะห์เครื่องมือ จาก บริษัท โนวาเทล แคนาดา บริษัท เรปโก้ ไทยแลนด์ บริษัท ฮอลลีวู้ด
ส่วนราชการได้แก่ กรมที่ดิน กระผมมีความทราบซึ้งและขอบคุณทุก หน่วยงานและนักวิจัยทุกท่านเป็นอย่างสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น