วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

ระบบรังวัดด้วยภาพสามมิติเสมือนครั้งแรกของโลก

ข้อมูลจากระบบทำแผนที่เคลื่อนที่ได้ ตามรูปคันนี้

(รูปโดย คุณธนรัตน์ นิสิต ปโท กรุณาถ่ายภาพสวยงามและตบแต่งมาด้วย)
ผมยังไม่เคยเห็นโมดูลแสดงพาโนรามาและรังวัดได้และออนไลน์ น่าจะเป็นครั้งแรกๆในโลก! ตามนี้เลย
3-D Immersive Measurement on Single Panorama
คู่มือการใช้งานอยู่ที่นี่ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

การประยุกต์ใช้ Mobile Mapping System (MMS)

ระบบทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้ที่ติดตั้งบนแพลตฟอร์ม (platform) ที่กล่าวมาข้างต้นสามารถบันทึกข้อมูลในพื้นที่ที่ต้องการจัดทำข้อมูลได้อย่างรวดเร็วโดยการเคลื่อนที่ผ่าน การบันทึกข้อมูลทำบนยานพาหนะที่มีความเร็วสูง เช่นระบบทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้บนรถยนต์สามารถทำความเร็วได้หลายสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง ระบบทำแผนที่บนอากาศยานทำความเร็วสูงถึงหลายร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นอาทิ ระบบทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้เป็นการสำรวจระยะไกลไม่สัมผัส ข้อมูลที่บันทึกได้จะถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบและเป็นการบันทึกข้อมูลจำนวนมากในครั้งเดียวในพื้นที่ ประโยชน์เหล่านี้จะเห็นได้ชัดในพื้นที่ที่การทำงานมีข้อจำกัดเช่น มีการจราจรมากและไม่สามารถหยุดได้ พื้นที่เกิดภัยพิบัติที่ต้องการประเมินและดำเนินการฟื้นฟูโดยเร็ว พื้นที่กำลังพัฒนาที่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกันอยู่ พื้นที่เอกชนที่มีศักยภาพจะถูกพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นต้น ระบบทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สำหรับแต่ละการประยุกต์ใช้สกัดข้อมูลออกจากภาพวิดีโอในหลายแง่มุมมอง (multiple viewing angle on video frames) การแสดงภาพและการสกัดข้อมูลจากวิดีโอมุมกว้าง (visualization and feature extraction from panoramic video) และกลุ่มของจุดเลเซอร์ (laser point cloud) ผลผลิตข้อมูลจากระบบต่างๆเหล่านี้สามารถให้ข้อมูลแผนที่และภูมิสารสนเทที่มีคุณภาพ เรียกย้อนดูอย่างละเอียดได้บ่อยๆโดยไม่ต้องกลับลงพื้นที่ ข้อมูลมีความละเอียดถูกต้องเทียบเท่าแผนที่มาตราส่วนใหญ่ ข้อมูลที่ได้สามารถผลิตเป็นข้อมูลชนิต่างๆ เช่น Video GIS ที่ผลิตได้อย่างรวดเร็ว, แผนที่มาตราส่วนใหญ่, ระบบสารสนเทศสามมิติชนิดจมลึก (3D Immersive) ที่รังวัดโดยตรงจากภาพได้, แบบจำลองสามมิติเสมือนจริงของเมือง (city model) การส
เก็ตซ์สามมิติจากภาพมุมมองเอียง (3D sketch from oblique imagery) เป็นต้น
ขณะนี้ซอฟต์แวร์ต้นแบบที่สามารถวัดบนภาพเดียว

และซอฟต์แวร์วัดภาพพาโนบนภาพคู่สเตอริโอ ใกล้จะเสร็จแล้ว วันหลังจะนำมาให้ลองใช้ดูครับ

งานวิจัยระบบทำแผนที่เคลื่อนที่ได้

ความต้องการแผนที่และข้อมูลภูมิสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันและทันสมัยยังคงเป็นที่ต้องการสำหรับการประยุกต์ใช้ในทุกๆด้านตลอด เวลาเสมอ ) ปัจจุบันวิธีหนึ่งที่จะเป็นคำตอบได้คือ เทคโนโลยีระบบทำแผนที่เคลื่อนที่ได้ (Mobile Mapping Technology)

ระบบทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้ครอบคลุมการใช้เทคโนโลยี เครื่องมือสำรวจรังวัดที่สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยบุคคล (personal) การติดตั้งบนยานพาหนะบนพื้นดิน (land) บนเรือแล่นบนผิวน้ำ (marine) ไปจนถึงในอากาศยาน (airborne vehicle) พาหนะเหล่านี้โดยพื้นฐานจะต้องติดตั้งระบบนำหนความละเอียดถูกต้องสูง (precise navigation) เพื่อให้ทราบตำแหน่งของรถพร้อมการวางตัว (positioning and orientation) ตลอดเวลาการบันทึกข้อมูล ณ ขณะเวลาใดที่เรียกว่าวิถีของพาหนะ(trajectory) ความสัมพันธ์ของตัวรถ (body frame) และระยะไปยังเซนเซอร์ต่างๆ (lever arm) ที่ติดตั้งอยู่ร่วมกันบนยานพาหนะ ความสัมพันธ์นี้ทำให้ทราบตำแหน่งและการวางตัวเซนเซอร์ ของเซนเซอร์ (sensor orientation) ที่ใช้สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปยังค่าพิกัดวัตถุทั้งสามมิติ (3D object coordinate) ที่ปรากฏในกายภาพที่ต้องรังวัด ปรากฏการณ์ทางกายภาพที่ต้องการรังวัดและยังช่วยประเมินให้ทราบถึงชนิด (object identification) และคุณลักษณะ (attribute) ของสิ่งเหล่านั้น ดังนั้นระบบทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้จึงเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและความรู้ความเข้าใจทางด้าน Global Navigation Satellite System (GNSS), Inertial Navigation System (INS), computer vision and close-range photogrammetry, frame and spherical video CCD imaging system และ laser scanner / Lidar


ขณะนี้งานวิจัยมีความคืบหน้าไปมาก มีนิสิต ป.เอก ทำงานโดยตรงถึง 2 คน คือ อาจารย์ภาณุ อุทัยศรี และนายชัยภัทร เนื่องคำมา นิสิต ป.โท 2 ท่าน นายอรุณ บุรีรักษ์ และ นายธนรัตน์ มิตรยอดวงศ์ และนิสิต ป.ตรี นายกฤษฏิ์ นานาประเสริฐ อีกทั้งได้รับความอนุเคราะห์เครื่องมือ จาก บริษัท โนวาเทล แคนาดา บริษัท เรปโก้ ไทยแลนด์ บริษัท ฮอลลีวู้ด
ส่วนราชการได้แก่ กรมที่ดิน กระผมมีความทราบซึ้งและขอบคุณทุก หน่วยงานและนักวิจัยทุกท่านเป็นอย่างสูง

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาพมุมกว้างในไทย

โฟสต์ก่อนนี้ ผมพาท่านไปชม panorama และ augmented reality มาแล้ว แต่อย่างให้ลองดูของไทยๆบ้าง

อันข้างบนมืออาชีพเขาทำไว้ ให้ที่ำทำงาน เน้นสวยงาม

ส่วนอีกอันของกลุ่มวิจัยผมทำเอง (อ.ภาณุ ป.เอก) เน้นใช้งานรังวัดและประสิทธิภาพการบันทึกภาพครับ


... และต้องไม่ลืม MapJack ครับ มีภาพมากถึง 8 จังหวัด พื้นที่ท่องเที่ยว

ภาพมุมกว้างและการเสริมแต่งความจริง

มีอีกตัวอย่างของเรื่องการใช้ ภาพมุมกว้าง (panoramic view) และการเสริมแต่งความจริง (augmented readlity: AR) ให้ดูในการบริหารจัดการสาธาณูปโภค เข้าใจว่า ทางฮอลแลนด์จะใช้นำเสนอผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stake holders) ทุกฝ่ายอย่างโปร่งใน ดูในภาพเป็นการแสดง ภาพปัจจุบัน [Hudige Stituatie --> today situation] และอนาคต [Voorkeusaternatief -- Future? alternative]

ลองพิจาณาดู ณ ครับ เทคนิดการทำน่าสนใจดีครับ อ้อ อีกอย่าง หากท่านใช้ Google Chrome และมีจอ LCD สัก 23-24 นิ้ว ให้ลองกด F-11 ดูครับ มันอลังการมากๆ