เวปไซต์สำหรับเผยแพร่ ผลงานวิจัยด้านภูมิสารสนเทศ โดยกลุ่มนักวิจัย ดร.ไพศาล สันติธรรมนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น Research and Development in geo-spatial science and technology for Thailand
วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
เปรียบเทียบ cloud service ของไทย กับ อเมริกา
อยากจะมีเซอร์เวอร์เล็กๆไว้ออนไลน์ซอฟต์แวร์คำนวนต่างๆ ให้นิสิตเข้ามาเรียกใช้งาน ส่งข้อมูลเข้ามาคำนวนได้ ผมลองเปรียบเทียบ cloud service ของ Digital Ocean กับ True Cloud ดูปรากฏว่าราคาต่างกันมาก Digital Ocean คิด 10 USDต่อเดือน หรือ 318 บาทต่อเดือน สำหรับ 1GBMemory + 1 CoreProcessor + 30GBSSD Disk + 2TBTransfer ส่วนของ True ในรูปแบบ VMWare ใน configuration ที่ใกล้เคียงกัน ปรากฏว่าค่าใช้จ่าย Estimated Monthly Total 2,640.00 THB วาว! ต่างกันมากทีเดียว นียังไม่นับ ocean cloud ที่มีฟีเจอร์ก้าวหน้าต่างๆ เช่น KVM droplets, SSD hard drives etc. ช่วยอำนวยความสดวก เร็ว แรง และอื่นๆอีก
วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557
อนาคตของ Personal Mobile Mapping System
การพัฒนาและการประยุกต์ใช้ระบบทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้ (Mobile Mapping System :MMS) ในบ้านเรากำลังเริ่มต้น และจะแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ในปีนี้เราอาจจะเห็นเอกชนและส่วนราชการ จัดหาระบบ MMS มาใช้งานในการบันทึกข้อมูลบนโครงข่ายสายทาง บันทึกกายภายตามเส้นทางในเมือง บันทึกข้อมูลสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
สำหรับกูเกิ้ลกำลังพัฒนาสมาร์ทดีไวซ์รุ่นใหม่ ไม่แน่ว่าจะเป็นซี่รีย์ Nexus หรือไม่ แต่ที่แน่คือเป็นการอัฟเดท เซนเซอร์บน android platform จากเดิมที่มีเพียง 3-D MEMS-based electronic compass , Inclinometer, GPS , light-sensor, proximity sensor ตอนนี้กูเกิ้ลจะสร้างพิมพ์เขียวให้ android platform สามารถบอกตำแหน่งตัวเองและทำแผนที่รอบๆตัวไปพร้อมกันในคราวเดียว ตามแนวคิด Simultaneous Location and Mapping : SLAM โดยที่ระบบคงจะเป็น image-processing based เพื่อให้เซนเซอต์มีราคาถูกและประหยัดพลังงาน แต่ซอฟต์แวร์คงซับซ้อนมากพอดู
Personal Mobile Mapping System : PMMS ดังกล่าวเช่น ที่กูเกิ้ลกำลังพัฒนาโครงการ Tango
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)