ทบทวนกันหน่อยครับ FGCD-STD-007.3-1998 ไม่ใช้แล้วลืม
แต่ว่าลองเอาใช้กับงานแผนที่ภาพออร์โทจากล้องดิจิทัลกันดู ทางยุโรปแนะว่า หากใช้กล้อง mapping-grade จะไ้้ด้ mapping accuracy เป็น 4 เท่าของ GSD เมื่อได้ mapping accuracy (เส้นสีแดง) ก็จะได้ map scale เทียบที่ RMSE
แต่ Leica ADS80 ให้ความละเีอียดไม่เชิงเส้นตามเส้นสีน้ำเงิน
____จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกgsd
Thai Geospatial Science and Technology
เวปไซต์สำหรับเผยแพร่ ผลงานวิจัยด้านภูมิสารสนเทศ โดยกลุ่มนักวิจัย ดร.ไพศาล สันติธรรมนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น Research and Development in geo-spatial science and technology for Thailand
วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558
เรียกใช้ command line ด้วย Python เพื่อทำงานแบบ Batch
การเรียกใช้ command line เพื่อทำงานแบบ Batch ช่วยทำให้เราประมวลงานต่างๆ ที่ต้องเรียกใช้ซ้ำๆ หรือ ต้องปรับเปลี่ยนพารามิเตอร์ต่างๆ แล้วเรียกใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่นการเรียกใช้ Module ของ GDAL/OGR เพื่อประมวลผลภาพตามตัวอย่าง GDAL/gdal_translate หากเราเลือกใช้ Python ในการเขียน script ชุดไลบรารี่ที่ใช้คือ subprocess การเรียกใช้ subprocess ค่อนข้างลึกลับทีเดียว เขียนทีไร อ่านคู่มือซ้ำซ้ำมาก็ยังไม่ทำงานได้ยั่งใจ คราวนี้ได้ตัวอย่างที่ดี ทำงานได้อย่างใจ ก็จดไว้ตรงนี้แล้วกัน
import subprocess
# constants
cmd = r'C:\Program Files\GDAL\gdal_translate.exe'
src = r"D:\tmp\B0679.tif"
dst = r"D:\tmp\B0679rgb.tif"
option = "-ot Byte -b 1 -b 2 -b 3 " # just for example!
# make Path valid
def QuotePath(item):
return "\"" + item + "\""
fullCmd = ' '.join([cmd, option, QuotePath(src), QuotePath(dst)])
print fullCmd
subprocess.Popen(fullCmd)
# constants
cmd = r'C:\Program Files\GDAL\gdal_translate.exe'
src = r"D:\tmp\B0679.tif"
dst = r"D:\tmp\B0679rgb.tif"
option = "-ot Byte -b 1 -b 2 -b 3 " # just for example!
# make Path valid
def QuotePath(item):
return "\"" + item + "\""
fullCmd = ' '.join([cmd, option, QuotePath(src), QuotePath(dst)])
print fullCmd
subprocess.Popen(fullCmd)
วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
เปรียบเทียบ cloud service ของไทย กับ อเมริกา
อยากจะมีเซอร์เวอร์เล็กๆไว้ออนไลน์ซอฟต์แวร์คำนวนต่างๆ ให้นิสิตเข้ามาเรียกใช้งาน ส่งข้อมูลเข้ามาคำนวนได้ ผมลองเปรียบเทียบ cloud service ของ Digital Ocean กับ True Cloud ดูปรากฏว่าราคาต่างกันมาก Digital Ocean คิด 10 USDต่อเดือน หรือ 318 บาทต่อเดือน สำหรับ 1GBMemory + 1 CoreProcessor + 30GBSSD Disk + 2TBTransfer ส่วนของ True ในรูปแบบ VMWare ใน configuration ที่ใกล้เคียงกัน ปรากฏว่าค่าใช้จ่าย Estimated Monthly Total 2,640.00 THB วาว! ต่างกันมากทีเดียว นียังไม่นับ ocean cloud ที่มีฟีเจอร์ก้าวหน้าต่างๆ เช่น KVM droplets, SSD hard drives etc. ช่วยอำนวยความสดวก เร็ว แรง และอื่นๆอีก
วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557
อนาคตของ Personal Mobile Mapping System
การพัฒนาและการประยุกต์ใช้ระบบทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้ (Mobile Mapping System :MMS) ในบ้านเรากำลังเริ่มต้น และจะแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ในปีนี้เราอาจจะเห็นเอกชนและส่วนราชการ จัดหาระบบ MMS มาใช้งานในการบันทึกข้อมูลบนโครงข่ายสายทาง บันทึกกายภายตามเส้นทางในเมือง บันทึกข้อมูลสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
สำหรับกูเกิ้ลกำลังพัฒนาสมาร์ทดีไวซ์รุ่นใหม่ ไม่แน่ว่าจะเป็นซี่รีย์ Nexus หรือไม่ แต่ที่แน่คือเป็นการอัฟเดท เซนเซอร์บน android platform จากเดิมที่มีเพียง 3-D MEMS-based electronic compass , Inclinometer, GPS , light-sensor, proximity sensor ตอนนี้กูเกิ้ลจะสร้างพิมพ์เขียวให้ android platform สามารถบอกตำแหน่งตัวเองและทำแผนที่รอบๆตัวไปพร้อมกันในคราวเดียว ตามแนวคิด Simultaneous Location and Mapping : SLAM โดยที่ระบบคงจะเป็น image-processing based เพื่อให้เซนเซอต์มีราคาถูกและประหยัดพลังงาน แต่ซอฟต์แวร์คงซับซ้อนมากพอดู
Personal Mobile Mapping System : PMMS ดังกล่าวเช่น ที่กูเกิ้ลกำลังพัฒนาโครงการ Tango
วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
รวมด้วยช่วยกันทำแผนที่นำทาง
___ตลาดแผนที่นำทางกำลังรุดหน้า โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตโทรมือถือให้ความสำคัญ และเป็นฟีเจอร์แรกที่ต้องโฆษณา นักทำแผนที่เลยได้อานิสงค์นี้ไปด้วย OpenStreetMap อาจเป็นคำตอบ open source ในเรื่องนี้ OpenStreetMap เป็นทั้ง framework , standard และ operation platform ดูรายละเอียดเริ่มต้นได้ที่
http://wiki.openstreetmap.org/wiki/Main_Page
ดูข้อมูลแถวเขตปทุมวัน พอใช้ได้
คุณเทพพิทักษ์ มีประสพการณ์ตรง เล่าให้ฟังที่นี่
http://thep.blogspot.com/2010/05/openstreetmap.html
http://wiki.openstreetmap.org/wiki/Main_Page
ดูข้อมูลแถวเขตปทุมวัน พอใช้ได้
คุณเทพพิทักษ์ มีประสพการณ์ตรง เล่าให้ฟังที่นี่
http://thep.blogspot.com/2010/05/openstreetmap.html
ชุดซอฟต์แวร์สร้างแผนที่ออนไลน์สำหรับฝั่งผู้ใช้ Leaflet
ชุดซอฟต์แวร์สร้างแผนที่ออนไลน์สำหรับฝั่งผู้ใช้ หรือ software framework for online mapping (client-side) OpenLayers เป็นแชมป็เปียนในด้านนี้มาโดยตลอด Openlayers เป็น AJAX/Javascript เหมาะกับ Web2.0 รองรับ free map online service (Google , Microsoft , OpenStreetMap etc.)
แต่ตอนนี้มีตัวเลือกใหม่น่าสนใจเช่นกัน Leaflet An Open-Source JavaScript Library for Mobile-Friendly Interactive Maps Leaflet เป็น JavaScript มีขนาดเพียง 28 KB ใช้คุณลักษณะของ HTML5 และ CSS3 ดูดีครับ
วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
Visualization Virtual Globe with Extravagance!
ขึ้นหัวข้อไว้เป็นอังกฤษเพราะไม่รู้จะแปลเป็นภาษาไทยว่าอะไรจึงจะฟังเข้าท่า เพิ่งไปเห็น Liquid Galaxy ของจริงมา โดยทีมงานของ ท่านอาจารย์ วีระ เหมืองสิน ภาควิชาคอมพิวเตอร์ จุฬาฯ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทัวไปประสานงานกันอย่างหลวมๆด้วยเครือข่ายผ่าน แนวคิด framework Liquid Galaxy พร้อมกับใช้ใชจอภาพขนาดใหญ่ ที่ขอบบางๆ วางต่อเนื่องกัน ทำให้ได้ภาพพาโนรามาขนาดใหญ่ของ Google Earth
ในภาพทีมงาน ท่านอาจารย์ วีระ เหมืองสิน ท่านที่ 3 จากขวามือ
จริงๆแล้วเรายังมีทางเลือกที่จะสร้างระบบแสดงภาพอลังการอย่างนี้อีก 2 วิธี ที่อาจด้อยกว่า แต่ประหยัดและทำได้ง่ายๆดังนี้
1) ใช้ Multiple Screen ซึ่ง โน๊ตบุค แล๊ปท๊อป สามารถทำได้อยู่แล้ว ดังภาพ
2) Fluid Nebula มีผู้ที่พยามคิดระบบปรับปรุงต่อจาก Google Fluid Galaxy โดยการใช้คอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว
แต่หลักการ คล้ายกับ ข้อ 1) แต่มีลูกเล่นมาขึ้น ที่นำเอา multiple touche ของ table มาร่วมด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)