วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Visualization Virtual Globe with Extravagance!

ขึ้นหัวข้อไว้เป็นอังกฤษเพราะไม่รู้จะแปลเป็นภาษาไทยว่าอะไรจึงจะฟังเข้าท่า เพิ่งไปเห็น Liquid Galaxy ของจริงมา โดยทีมงานของ ท่านอาจารย์ วีระ เหมืองสิน ภาควิชาคอมพิวเตอร์ จุฬาฯ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทัวไปประสานงานกันอย่างหลวมๆด้วยเครือข่ายผ่าน แนวคิด framework Liquid Galaxy พร้อมกับใช้ใชจอภาพขนาดใหญ่ ที่ขอบบางๆ วางต่อเนื่องกัน ทำให้ได้ภาพพาโนรามาขนาดใหญ่ของ Google Earth

ในภาพทีมงาน ท่านอาจารย์ วีระ เหมืองสิน ท่านที่ 3 จากขวามือ
จริงๆแล้วเรายังมีทางเลือกที่จะสร้างระบบแสดงภาพอลังการอย่างนี้อีก 2 วิธี ที่อาจด้อยกว่า แต่ประหยัดและทำได้ง่ายๆดังนี้
1) ใช้ Multiple Screen ซึ่ง โน๊ตบุค แล๊ปท๊อป สามารถทำได้อยู่แล้ว ดังภาพ

2) Fluid Nebula มีผู้ที่พยามคิดระบบปรับปรุงต่อจาก Google Fluid Galaxy โดยการใช้คอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว แต่หลักการ คล้ายกับ ข้อ 1) แต่มีลูกเล่นมาขึ้น ที่นำเอา multiple touche ของ table มาร่วมด้วย

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สร้าง HeatMap ด้วยตนเอง

API HeatMap ของ Google Maps V3 สร้างความประทับใจให้ผมมากในการ สรุปเชิงปริภูมิ (spatial summarize) และ การสร้างภาพ (visualization) จากจุดจีพีเอส Waypoint/GPX หรือ Geotag-Photo( EXIF-jpg) หากเราอยากมีความสามารถจะประมวลผลเอง เช่นการสร้าง web service มีโค้ดให้เรียกใช้แล้วที่นี่ครับ
http://www.sethoscope.net/heatmap/heatmap.py
เช่นการใช้คำสั่ง
heatmap.py -g orkney.gpx -o orkney.png --height 800 --osm
จะได้ผลตามนี้

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กูเกิ้ลสตรีทวิวมาเยี่ยมบ้าน

บ้านผมอยู่ในซอยและเส้นทางเข้าถึงค่อนข้างซับซ้อน นึกไม่ถึง Google Street Car ยังอุตส่าห์แอบวิ่งมาถ่ายรูปเมื่อเดือนมีนาคม 2555 ที่ผ่านมาไม่น่าเชื่อเลยจริง
View Larger Map