วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภูมิสารสนเทศออนไลน์ทศวรรษ 201x

ทิศทางของภูมิสารสนเทศในสิบปีถัดไป 2010-2020 คงจะพัฒนาบนพื้นฐานของ
Multi-GNSS มีดาวเทียมนำหนนานาชาติมากกว่า 100 ดวงโคจรรอบโลกพร้อมๆกัน และมีดาวเทียมนำหนอย่างน้อย 50 ดวง (all-in-view) ให้ปรากฏใช้งานกำหนดตำแหน่งได้ ส่วนระบบแผนที่คงออนไลน์ทศวรรษ 201x น่าจะมาแรงบน Tablet เช่น ที่ Motorola แสดงต้นแบบ Android 3.0 กับ Google Maps รุ่นใหม่ ดูเหมือนปัญหาแบนด์วิธจะลดลงไปเรื่อย ไทยแลนด์คงก้าวสู่ 3G ดังนั้นข้อมูลรูปอาคารบน Google Maps จึงกลับมาเป็น Vector อีกครั้ง ด้วยความแรงของ graphic engine บน tablet ดังภาพ

ดูวิดีโอเต็มได้ข้างล่างนี้ โปรดจับตา
นาที่ที่ 1:43-2:05 รูปอาคารสามมิติ ค่อยๆเอียง และหมุนได้
นาที่ที่ 2:45-3:10 เลื่อนภาพอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แต่ตอนท้ายก็หมุนได้ ยืนยันว่าข้อมูลที่ถ่ายโอนยังเป็นเวกเตอร์

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กล้องถ่ายภาพทางอากาศ "ไมโครฟอร์แมต"

เคยรวบรวมและเรียบเรียง กล้องถ่ายภาพทางอากาศดิจิทัล ซึ่งแบ่งตามความสามารถในการบันทึกภาพแต่ละเฟรม โดยทั่วไปหากบันทึกภาพได้เฟรมละ 4,000-10,000 จุดภาพในแต่ละด้าน รวมๆแล้วน้อยกว่า 100 MegaPixel มักจะเรียกว่า กล้องมีเดียมฟอร์แมต (medium-format camera) หากกล้องสามารถบันทึกภาพได้เฟรมละใหญ่มากกว่า 10,000 จุดภาพในแต่ละด้านของฉากรับภาพ เราเรียกว่า กล้องลาจฟอร์แมต (large-format camera)
แต่จีกทำเก๋กว่า ผลิตกล้องสำหรับติดเครื่องบินบังคับวิทยาสำหรับถ่ายภาพ Lightweight Aerial Camera For RC Planes
โดย ChinaVision
กล้องน้ำหนักเพียง 27 กรัม บันทึกวิดิโอขนาด 640x480 ที่ความเร็ว 25 เฟรมต่อวินาที่ รูปร่างดังภาพ

ผมขอเรียกให้เข้าซีรี่่ย์ว่า micro-format camera ก็แล้วกัน

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระบบทำแผนที่แบบพกพา

ระบบทำแผนที่แบบพกพา (Portable Mobile Mapping)
อีกแนวคิดหนึ่งของการทำแผนที่ด้วยระบบทำแผนที่แบบพกพา ระบบประกอบด้วยกล้องถ่าพวีดีโอต่อเนื่อง ระบบกำหนดตำแหน่ง ระบบการวางตัว(หากเลือกใช้) หรือระบบจีพีเอสไอเอ็มยู (ถ้าจำเป็น) ระบบสามารถรังวัดบนภาพถ่ายเดี่ยวได้เช่นกัน ข้อมูลที่ได้มีการเชื่อมต่อก้บระบบภูมิสารสนเทศได้
ปัจจุบันมีการออกแบบให้ compact การประยุกต์ใช้ดังรูป

เช่น Imajbox
ดูตัวอย่างที่นี่